วิเคราะห์ ความอยู่รอดของธุรกิจโทรทัศน์ดิจิทัล ผ่านรายได้และต้นทุนของผู้ประกอบการ

Last updated: 14 พ.ค. 2566  |  1689 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิเคราะห์ ความอยู่รอดของธุรกิจโทรทัศน์ดิจิทัล ผ่านรายได้และต้นทุนของผู้ประกอบการ

                   ในปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดประมููลใบอนุุญาตในการใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยมีผู้ชนะการประมููลช่องประเภทธุุรกิจจำนวน 24 ช่อง แบ่งประเภทช่องที่ประมููล เป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดเด็กเยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่่อง หมวดข่าวสารสาระ จำนวน 7 ช่อง หมวดทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ช่อง และหมวดทั่วไปแบบความคมชัดสููง(HD) จำนวน 7 ช่อง นอกจากนี้แล้วยังมีหมวดช่องสาธารณะจำนวน 4 ช่อง ดังนั้น ในช่วงแรกของยุุคโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลนั้น มีจำนวนช่องที่นำเสนอเนื้อหาทั้งหมด 28 ช่่อง
                    อย่างไรก็ดีในปี 2562 ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลหลายรายตัดสินใจยุติการประกอบกิจการ และขอคืนใบอนุญาตฯ ส่งผลให้เหลือช่องโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลทั้งหมดเพียง 19 ช่อง แบ่งเป็นหมวดข่าวสารและสาระจำนวน 3 ช่อง หมวดทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 5 ช่อง หมวดทั่วไปแบบความคมชัดสูง (HD) จำนวน 7 ช่อง และหมวดช่่องสาธารณะจำนวน 4 ช่อง ทั้งนี้ไม่เหลือช่องที่อยู่่ ในประเภทหมวดหมู่ เด็กเยาวชน และครอบครัว เลย
                     การคืนใบอนุญาตฯ ของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลข้างต้น สะท้อนถึงสภาวการณ์อยู่รอดในตลาด ซึ่งการแข่งขันที่รุนแรงภายหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ดิจิทัล สภาพเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว รวมทั้งพฤติกรรมการรับชมเนื้อหารายการของประชาชนที่ เปลี่่ ยนแปลงไปรับชมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทายเพื่อให้เข้าใจแนวโน้มของการประกอบการธุรกิจโทรทัศน์ดิจิทัล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายในอนาคตและเป็นประโยชน์์โดยตรงแก่ภาคธุุรกิิจ สำนักงาน กสทช. โดยสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จึงได้ วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลิตภาพ1 ของผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลในช่วง 2561-2564 โดยได้ วิเคราะห์ข้อมูลรายได้ 2และต้้นทุุน3ของผู้ประกอบการ เพื่อประเมินสภาวะการแข่งขันของช่องโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งพบว่า ความสามารถในการทำรายได้ให้มากกว่าต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุุรกิิจโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลอยู่รอด
                    ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า ช่องโทรทัศน์ดิจิทัลประเภทธุุรกิจ มีทั้งช่องที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และช่องที่มีความท้าทายสููงในการประกอบกิจการ โดยมีรายละเอียดดัังนี้้
 

หน้าที่4


 

                    ทั้งนี้ช่องรายการทัั้ง 4 ช่องรายการที่ยุติการออกอากาศ และช่องที่มีค่าผลิตภาพต่ำกว่า 1  เช่น ช่อง 9 MCOT HD ช่อง New 18 ช่อง NationTV ล้วนเป็นช่องในหมวดหมู่ช่องข่าวสารและสาระและช่องที่เน้นรายการข่าวเป็นหลัก โดยช่องรายการเหล่านี้เป็นช่องรายการข่าวแต่ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับช่องที่มีรายการเสวนาข่าวเช่น ช่องไทยรัฐ ทีวีและช่องAmarinTV HD ซึ่งมีพิธีกรข่าวและผู้ประกาศข่าวทีมีผู้ติดตามจำนวนมากจนสามารถสร้างความนิยมในรายการได้
ส่วนช่อง New 18 ที่ก่อนหน้านี้เน้นรายการข่าวเช่นกัน แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาของช่องไปอย่างสิ้นเชิงหลังจากเปลี่ยนเป็นช่อง JKN 18 โดยเปลี่ยนไปเน้นการออกอากาศซีรีส์ต่างประเทศแทน

                 อย่างไรก็ดี ผลิตภาพของช่องภายหลังการเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่สามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ ส่วนช่องรายการอื่นๆ ที่มีผลิตภาพต่ำกว่า 1 ได้แก่ ช่อง PPTV ที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ช่อง GMM 25 ที่เน้นรายการละคร และช่อง TRUE4U ที่เน้นการออกอากาศซีรีส์และภาพยนตร์เป็นหลัก การแข่งขันในตลาดกิจการโทรทัศน์นั้น อาจจะมีทั้งผู้ประกอบการบางรายที่สามารถปรับตัวอยู่รอดได้ และอาจมีบางรายที่อาจจะพบข้อจำกัดในการแข่งขัน ซึ่งข้อมููลรายได้้ของผู้ประกอบการบางรายที่มีรายได้จากบริการออนไลน์และบริการดิจิทัลอื่นๆเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการในสภาวะที่มีความท้าทายทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ บทบาทของ กสทช. ในฐานะหน่วยงานการกำกับดูแล อาจไม่ใช่แต่เพียงการสนับสนุุนทางการเงินเพื่อช่่วยให้ผู้ประกอบการทุกรายอยู่รอด แต่สิ่งที่กสทช. พยายามสนับสนุุนและและช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรทัศน์คือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในรููปแบบต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงความพยายามเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เอื้อให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้ดีมากขึ้น เช่น การปรับแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์์ที่เปลี่ยนแปลงไป


ขอบคุณข้อมูล จากสำนักวิชาการ กสทช.



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้